News & Events

“การสำรวจข้อมูลอาจไม่ทำให้ชีวิตชาวบ้านดีขึ้น แต่ต้องไม่ลืมว่าก่อนที่จะมีคำตอบต้องรู้สาเหตุ สิ่งแรกที่อยากฝากคือคำกล่าวของ Lord Kelvin ผู้พัฒนามาตรฐานการวัดอุณหภูมิสัมบูรณ์ หรือระบบเคลวิน (Kelvin) ที่ว่า ‘If you cannot measure it, you cannot improve it.’ ถ้าเราวัดไม่ได้ ลืมมันได้เลยว่าเราจะแก้ได้ และนั่นคือ check point ที่ทีมวิจัยพยายามทำ เพราะเทอร์โมมิเตอร์ไม่ใช่ยา แก้ปัญหาให้คนเป็นไข้ไม่ได้ แต่เราใช้เทอร์โมมิเตอร์ตลอดเวลาเพื่อบอกว่าเรามีปัญหาไหม เช่นเดียวกับงานวิจัย เราไม่มีคำตอบจากการเก็บข้อมูล แต่ในทางกลับกันเราหวังว่าข้อมูลจะนำไปสู่ความเข้าใจในรากของปัญหาที่ชัดเจนขึ้น”
The Potential ชวนติดตามการพัฒนา ‘เครื่องมือสำรวจและประเมินศักยภาพความพร้อมของทรัพยากรมนุษย์ตามช่วงวัยสำคัญทั้งระดับประเทศและในระดับจังหวัด’ โดยพามาเจาะลึกการสำรวจ ‘ความพร้อมของเด็กปฐมวัยในการเข้าสู่ประถมศึกษา หรือ School Readiness Survey: SRS’ กับ รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) และคณบดีคณะการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หนึ่งในข้อมูลชุดสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการยกระดับทุนมนุษย์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทุกช่วงวัยให้แก่ประเทศ

ผลทดสอบกลุ่มตัวอย่างราว 10 เปอร์เซ็นต์ของเด็กปฐมวัยทั่วประเทศชี้ว่า ประเทศไทยมีเด็กเล็กช่วงวัยก่อนประถมศึกษาจำนวนมากมีทักษะการเรียนรู้อยู่ในระดับที่น่ากังวล โดยเฉพาะความพร้อมด้านความเข้าใจในการฟัง การต่อรูปภาพในใจ และความจำใช้งาน อันเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้อื่นๆ
รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) และคณบดีคณะการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุถึงแง่มุมหนึ่งจากผลลัพธ์ของงานวิจัยสำรวจความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัย (Thailand School Readiness Survey: TSRS) ซึ่งมีนัยสำคัญต่อการประเมินปัญหา และเป็นข้อมูลตั้งต้นของการหาแนวทางพัฒนาเด็กปฐมวัยไทยในภาพรวม

 

 

“สิ่งที่แบบทดสอบกำลังบอก คือชุดทักษะที่เราต้องการให้เด็กแสดงให้เห็นนั้นไม่ใช่เรื่องยากและซับซ้อน แต่มันได้ยืนยันว่าถ้าเด็กปฐมวัยไม่ได้รับการลงทุนด้านคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสม ทั้งจากครอบครัวและโรงเรียน เด็กจะเจอกับปัญหาอุปสรรคแม้ในการทำสิ่งที่เป็นเรื่องพื้นฐานง่ายๆ และจะมีผลสืบเนื่องระยะยาวในขั้นถัดไปของการเรียนรู้”
ผลลัพธ์งานวิจัย Thailand School Readiness Survey เช็คความพร้อมเด็กไทยก่อนขึ้นชั้นประถม โดย รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) และคณบดีคณะการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
📌 ส่วนหนึ่งของ งานสัมมนาทางวิชาการประจำปี “Equity Forum 2023 ทุนมนุษย์ยุติความเหลื่อมล้ำ”

4 กรกฎาคม 2566 | Research Seminar by RIPED and School of Economics at UTCC
ขอเชิญนักวิจัยและผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา เวลา 10.00-11.30 น. ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยชิคาโก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อาคาร 21 ชั้น 7  โดย Jun Hyung Kim (Institute for Economic and Social Research at Jinan University) นำเสนองานวิจัยในเรื่อง“Effects of Childhood Peers on Personality Traits”
🇬🇧 งานสัมมนาจัดขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ
 
7 มิถุนายน 2566 | ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนา RIPED Research Seminars
ขอเชิญนักวิจัยและผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา เวลา 10.00-11.30 น. ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยชิคาโก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อาคาร 21 ชั้น 7 
โดย Assistant Professor Julian Neira (University of Exeter, Department of Economics) นำเสนองานวิจัยในเรื่อง “Spatial Misallocation of Native Labor and Immigration” เพื่อให้นักวิจัยและนักศึกษาได้เรียนรู้งานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านจิตวิทยา และด้านการศึกษา
🇬🇧 งานสัมมนาจัดขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ

การพัฒนาและเตรียมระบบการศึกษาให้ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนทุกกลุ่ม สามารถแก้ปัญหาการศึกษาด้านต่างๆ อย่างยั่งยืน สร้างรากฐานที่แข็งแกร่ง สร้างหลักประกันอนาคตของประเทศได้ ยังคงเป็นงานที่ท้าทายความสามารถซึ่งกำลังรอให้รัฐบาลใหม่เข้ามาดูแล

คุยกับ ‘วีระชาติ กิเลนทอง’ ในวันที่การเรียนรู้ของเด็กไทยกำลังถดถอยสวนทางกับความเหลื่อมล้ำที่กำลังขยายใหญ่ขึ้น ทางออกของเรื่องนี้ควรเป็นเช่นไร พ่อแม่และครูจะมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูทักษะของลูกหลานได้อย่างไรบ้าง เพื่อรักษาระบบการศึกษาไม่ให้เชื้อโรคที่ชื่อว่าความเหลื่อมล้ำแผ่ความรุนแรงไปมากกว่านี้

 Mutual คุยกับ รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง  ถึงเรื่องความพร้อมในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย ในประเด็นการเรียนรู้ถดถอยที่เด็กปฐมวัยต้องเผชิญ รวมถึงทางออกสู่การฟื้นฟูทักษะที่หล่นหายไปหลังสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย

“น้องเมฆ – เมธาสิทธิ์” เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 ในจังหวัดมหาสารคาม อาศัยอยู่กับยายที่เรียนจบเพียงชั้น ป.6 ยายมีอาชีพทำนาและรับจ้าง กว่า 2 ปี ที่โควิด-19 แพร่ระบาด ทำให้โรงเรียนต้องปิดเรียนกว่า 1 เทอม และได้สร้างปัญหาเรื่องการเรียนรู้ที่ไม่เป็นไปตามพัฒนาการ เกิดการเรียนรู้ถดถอย…

                                                                       หน้า   1   2   3   4