Slide 1

13 ธันวาคม 2566

โดย RIPED และ EEF

สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEF)

ขอเรียนเชิญนักวิจัยและผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา Human Capital Development Seminars โดย Professor Joshua Hawley (the Glenn College at The Ohio State University)
นำเสนอบทความเรื่อง “Measuring Thai Employment Transitions 2012-2021 Using Linked Rotation Data”
วันพุธที่ 13 ธันวาคม 2566 เวลา 10.00-11.30 น.
ณ อาคาร 21 ชั้น 2 ห้อง 21207 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Slide 1

6 พฤศจิกายน 2566

โดย The Potential

‘ทักษะที่ขาดหาย’ ความ(ไม่)พร้อมของเด็กปฐมวัย จากการสำรวจ School Readiness Survey: รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง

“การสำรวจข้อมูลอาจไม่ทำให้ชีวิตชาวบ้านดีขึ้น แต่ต้องไม่ลืมว่าก่อนที่จะมีคำตอบต้องรู้สาเหตุ สิ่งแรกที่อยากฝากคือคำกล่าวของ Lord Kelvin ผู้พัฒนามาตรฐานการวัดอุณหภูมิสัมบูรณ์ หรือระบบเคลวิน (Kelvin) ที่ว่า ‘If you cannot measure it, you cannot improve it.’ ถ้าเราวัดไม่ได้ ลืมมันได้เลยว่าเราจะแก้ได้ และนั่นคือ check point ที่ทีมวิจัยพยายามทำ เพราะเทอร์โมมิเตอร์ไม่ใช่ยา แก้ปัญหาให้คนเป็นไข้ไม่ได้ แต่เราใช้เทอร์โมมิเตอร์ตลอดเวลาเพื่อบอกว่าเรามีปัญหาไหม เช่นเดียวกับงานวิจัย เราไม่มีคำตอบจากการเก็บข้อมูล แต่ในทางกลับกันเราหวังว่าข้อมูลจะนำไปสู่ความเข้าใจในรากของปัญหาที่ชัดเจนขึ้น”

Slide 1

29 ตุลาคม 2566

โดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

พัฒนาทุนมนุษย์ช่วงปฐมวัย หนทางลดความเหลื่อมล้ำที่ยั่งยืน เปิดผลลัพธ์งานวิจัย Thailand School Readiness Survey เช็คความพร้อมเด็กไทยก่อนขึ้นชั้นประถม

ผลทดสอบกลุ่มตัวอย่างราว 10 เปอร์เซ็นต์ของเด็กปฐมวัยทั่วประเทศชี้ว่า ประเทศไทยมีเด็กเล็กช่วงวัยก่อนประถมศึกษาจำนวนมากมีทักษะการเรียนรู้อยู่ในระดับที่น่ากังวล โดยเฉพาะความพร้อมด้านความเข้าใจในการฟัง การต่อรูปภาพในใจ และความจำใช้งาน อันเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้อื่นๆ

รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) และคณบดีคณะการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุถึงแง่มุมหนึ่งจากผลลัพธ์ของงานวิจัยสำรวจความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัย (Thailand School Readiness Survey: TSRS) ซึ่งมีนัยสำคัญต่อการประเมินปัญหา และเป็นข้อมูลตั้งต้นของการหาแนวทางพัฒนาเด็กปฐมวัยไทยในภาพรวม

Slide 1

25 ตุลาคม 2566

โดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

Equity Forum 2023 “ทุนมนุษย์เพื่อยุติความเหลื่อมล้ำ”

“สิ่งที่แบบทดสอบกำลังบอก คือชุดทักษะที่เราต้องการให้เด็กแสดงให้เห็นนั้นไม่ใช่เรื่องยากและซับซ้อน แต่มันได้ยืนยันว่าถ้าเด็กปฐมวัยไม่ได้รับการลงทุนด้านคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสม ทั้งจากครอบครัวและโรงเรียน เด็กจะเจอกับปัญหาอุปสรรคแม้ในการทำสิ่งที่เป็นเรื่องพื้นฐานง่ายๆ และจะมีผลสืบเนื่องระยะยาวในขั้นถัดไปของการเรียนรู้”
ผลลัพธ์งานวิจัย Thailand School Readiness Survey เช็คความพร้อมเด็กไทยก่อนขึ้นชั้นประถม โดย รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) และคณบดีคณะการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
📌 ส่วนหนึ่งของ งานสัมมนาทางวิชาการประจำปี “Equity Forum 2023 ทุนมนุษย์ยุติความเหลื่อมล้ำ”

Slide 1

14 พฤษภาคม 2566

โดย THE STANDARD TEAM

กสศ. เปิด 5 ประเด็นการศึกษาจากนักวิชาการ ที่พรรคการเมืองไม่ได้เสนอ แต่รัฐบาลใหม่ควรทำ

การพัฒนาและเตรียมระบบการศึกษาให้ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนทุกกลุ่ม สามารถแก้ปัญหาการศึกษาด้านต่างๆ อย่างยั่งยืน สร้างรากฐานที่แข็งแกร่ง สร้างหลักประกันอนาคตของประเทศได้ ยังคงเป็นงานที่ท้าทายความสามารถซึ่งกำลังรอให้รัฐบาลใหม่เข้ามาดูแล
ในสนามหาเสียงโค้งสุดท้ายพบความโดดเด่นทางนโยบายที่เกือบทุกพรรคให้ความสำคัญไปที่สวัสดิการสนับสนุนโอกาสเข้าถึงการศึกษา ทว่าความชัดเจนเรื่องความเสมอภาคยังมีอะไรบ้างที่ควรเสนอในวาระที่ประเทศไทยจะมีรัฐบาลชุดใหม่
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ชวนเครือข่ายนักวิชาการเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาร่วมจับกระแสข้อเสนอนโยบายด้านการศึกษา เพื่อรับมือกับปัญหาในอนาคตเหล่านี้

Slide 1

30 พฤศจิกายน 2565

“Learning Loss คือไข้ แต่ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาคือโรค เราลดไข้ได้ แต่ไม่เคยฆ่าเชื้อโรค”

คุยกับ ‘วีระชาติ กิเลนทอง’ ในวันที่การเรียนรู้ของเด็กไทยกำลังถดถอยสวนทางกับความเหลื่อมล้ำที่กำลังขยายใหญ่ขึ้น ทางออกของเรื่องนี้ควรเป็นเช่นไร พ่อแม่และครูจะมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูทักษะของลูกหลานได้อย่างไรบ้าง เพื่อรักษาระบบการศึกษาไม่ให้เชื้อโรคที่ชื่อว่าความเหลื่อมล้ำแผ่ความรุนแรงไปมากกว่านี้

Slide 1

21 พฤศจิกายน 2565

วีระชาติ กิเลนทอง : “ต่อให้ไม่มีผม ทุกคนคงรู้สึกได้ว่าเด็กกำลังเจอภาวะ Learning Loss บทบาทของผมคือทำให้มั่นใจว่าสิ่งที่ทุกคนคิดมันถูกต้อง แต่มันฟื้นฟูได้”

เขียนหนังสือไม่ได้เพราะกล้ามเนื้อมัดเล็กไม่ถูกพัฒนา กลับมาเรียนหนังสือแบบครึ่งๆ กลางๆ เพราะทักษะเชิงวิชาการหายไป นี่คือสถานการณ์จริงที่เด็กปฐมวัยกำลังเผชิญหลังโรงเรียนกลับมาเปิดเต็มรูปแบบ จากสถานการณ์ล็อกดาวน์ในช่วงโรคระบาดที่ผ่านมาช่วงเวลาการเรียนรู้ที่หยุดชะงัก ทำให้เด็กอนุบาลที่กำลังก้าวขึ้นสู่ชั้นประถมต้นมีภาวะถดถอย Mutual คุยกับ รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) และคณบดีคณะการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถึงเรื่องความพร้อมในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย ในประเด็นการเรียนรู้ถดถอยที่เด็กปฐมวัยต้องเผชิญ รวมถึงทางออกสู่การฟื้นฟูทักษะที่หล่นหายไปหลังสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย

previous arrowprevious arrow
next arrownext arrow

Using a large-scale school readiness survey in Thailand, this paper presents empirical evidence of learning losses from school closure due to the COVID-19 pandemic for kindergartners. Overall results indicate that school closure during the outbreak of COVID-19 causes significant learning losses in cognitive skills, especially in mathematics and working memory. The negative impact is heterogeneous across several dimensions, including child gender, special needs, wealthprivate tutoring, caregiver education, and parental absence. This paper also estimates daily learning gains, of which significant results confirm that going to school has significantly benefited young children, especially in receptive language, mathematics, and working memory.

This study investigated the effect of material incentive motivation on the working memory performance of kindergartners using a large-scale randomized controlled trial covering 7123 children aged 50 to 144 months (M = 75.85 months) from 19 provinces in Thailand. This study measured the working memory of young children using the digit span task. The first finding is that material incentive motivation raised the working memory performance of young children by 4% of the mean of the control group. The second finding is that young children with different background characteristics responded to material incentive motivation uniformly except for the children’s age. The third finding is that school readiness was the most predictive variable for the working memory performance of young children.

การพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพการศึกษาและคุณภาพการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง การยกระดับคุณภาพการศึกษาปฐมวัยด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการในสถานที่จริง ซึ่งเป็นการอบรมครูที่เจาะจงแนวทางการสอนแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะและมีรายละเอียดกิจกรรมและเนื้อหาที่ครบถ้วนสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนของครูปฐมวัยได้จริง ในขณะเดียวกันการพัฒนาการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองผ่านการเยี่ยมบ้านก็เป็นกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ผู้ปกครองมีความพร้อมในการพัฒนาเด็กปฐมวัยมากขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำเอาบทเรียนที่ได้จากงานวิจัยทั้งสองกลุ่มไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบนโยบายเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ

Close Bitnami banner
Bitnami