Projects​

2567

University College London


โครงการวิจัยศึกษาปัจจัยและแนวทางแก้ไขการทำงานไม่ตรงกับทักษะของแรงงาน (Skill Mismatch) เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ University College London (สหราชอาณาจักร) โดยได้รับเงินทุนวิจัยสนับสนุนจาก UK Research and Innovation โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาปัจจัยและแนวทางการแก้ไขภาวะที่แรงงานทำงานไม่ตรงกับทักษะ หรือ skills mismatch ของแรงงานไทย โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานจบใหม่ในระดับปริญญาตรี

ปัญหา Skills Mismatch พบได้ในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วย (Bandiera et al, 2022; จันทะพงษ์ และ เลิศเพียรธรรม 2018) หลักฐานจากงานวิจัยระดับนานาชาติที่ผ่านมาพบว่า ภาวะ Skills Mismatch นี้ ก่อให้เกิดผลเสียต่อรายได้จากการทำงานทั้งยังกระทบไปถึงการเติบโตในหน้าที่การงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว (Guvenen et al, 2020) ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มแรงงานที่มี อายุน้อย คือกลุ่มที่ได้รับผลเสียดังกล่าวมากกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ (Fredriksson et al, 2018) ดังนั้น การทำความเข้าใจถึงสาเหตุปัจจัยของภาวะการทำงานไม่ตรงกับทักษะ จึงเป็นโจทย์วิจัยที่สำคัญต่อการออกแบบนโยบายเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพและยกระดับรายได้ของแรงงานไทย

กันยายน 2564 - มีนาคม 2566

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

โครงการดำเนินการประเมินผลกระทบ (impact evaluation) ของกระบวนการฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียนในจังหวัดสมุทรสาครโดยใช้การทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (RCT) เพื่อศึกษาว่ากระบวนการฟื้นฟูที่เกิดจากความร่วมมือของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม กสศ. และ UNICEF  มีประสิทธิผลมากน้อยเพียงใด นักวิจัยจะใช้การสุ่มเพื่อแบ่งเป็นโรงเรียนในกลุ่มทดลอง (treatment group) 30 โรงเรียน และโรงเรียนในกลุ่มควบคุม (control group) 30 โรงเรียน ทีมวิจัยจะดำเนินการทดสอบทักษะของเด็กนักเรียนกลุ่มตัวอย่างก่อนเริ่มและหลังเริ่มการทดลอง (pre-test และ post-test) โดยใช้แบบทดสอบที่ความคล้ายคลึงกับแบบทดสอบมาตรฐานของประเทศไทย พร้อมทั้งเก็บข้อมูลครูประจำชั้น ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ปกครอง นอกจากนี้จะดำเนินการสังเกตการเรียนการสอนในห้องเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง

โครงการ PISA for school

กรกฎาคม 2563 – สิงหาคม 2564

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development หรือ OECD)

โครงการ PISA for School ดำเนินการทดสอบสมรรรถนะนักเรียนที่มีอายุอยู่ระหว่าง 15-16 ปี จาก 80 โรงเรียนทั่วประเทศ โดยใช้แบบทดสอบที่มีมาตรฐานเดียวกับแบบทดสอบของโครงการประเมินสมรรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล หรือ PISA Test ซึ่งออกแบบโดยทีมวิชาการขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development หรือ OECD) โดยคาดว่าจะมีนักเรียนที่เข้าร่วมการทดสอบกว่า 3,000 คน สำหรับสถานศึกษาที่มีกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 42 คนขึ้นไป จะได้รับรายงานสรุปผลการทดสอบระดับสถานศึกษา (School Report) พร้อมข้อมูลเปรียบเทียบกับผลการทดสอบในระดับนานาชาติ โดยคาดหวังว่าสถานศึกษาจะนำเอาผลการทดสอบไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น

โครงการ RIECE Thailand (อยู่ระหว่างดำเนินการ)

2557 – ปัจจุบัน

ผู้บริจาคชาวไทยไม่ประสงค์ออกนาม กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มูลนิธิพุทธรักษา และผู้บริจาครายย่อยอื่น ๆ

โครงการลดความเหลื่อมล้ำด้วยการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ (Reducing Inequality through Early Childhood Education: RIECE Thailand) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ไรซ์ไทยแลนด์” (RIECE Thailand) เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาที่มีพื้นฐานมาจากงานวิจัยของ ศาสตราจารย์ James J. Heckman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล โครงการฯ นำเอากระบวนการเรียนการสอนของหลักสูตรไฮสโคปมาพัฒนาและส่งเสริมให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เข้าร่วมโครงการฯ กว่า 40 แห่งนำไปใช้ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้เพื่อออกแบบนโยบายด้านการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การสร้างทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพให้แก่เด็กและเยาวชนไทย จนสามารถสร้างสังคมที่เสมอภาคและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนได้ในอนาคต

โครงการ Longitudinal Sample (อยู่ระหว่างดำเนินการ)

.

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

การสำรวจ/เก็บข้อมูลแบบตัวอย่างซ้ำสำหรับกลุ่มตัวอย่างของข้อมูลตัวอย่างซ้ำไรซ์ไทยแลนด์ (RIECE Panel Data) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลตัวอย่างซ้ำ (Panel/Longitudinal Data) โดยดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่เป็นเด็กกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,800 คน ในจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ของการสำรวจข้อมูลตัวอย่างซ้ำไรซ์ไทยแลนด์ (RIECE Panel Data) และดำเนินการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในจังหวัดลพบุรี (ภาคกลาง) และเป็นพื้นที่ที่มีแนวโน้มที่จะเป็นชุมชนเมืองมากกว่าจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ ยิ่งไปกว่านั้น จังหวัดลพบุรีได้เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจครัวเรือนแบบตัวอย่างซ้ำรายเดือน (Townsend Thai Monthly Data) ซึ่งเป็นการสำรวจแบบตัวอย่างซ้ำที่ต่อเนื่องยาวนานถึง 20 ปี และมีมาตรฐานระดับสากล แต่ได้หยุดการสำรวจไปเมื่อปี 2561

ตุลาคม 2565 – ตุลาคม 2566

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลสถานะความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัยสำหรับประเทศไทยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพ มาตรฐานระดับนานาชาติ และครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาจึงเห็นว่า ควรมีการดำเนินงานพัฒนาเครื่องมือการสำรวจ และจัดทำเป็นฐานข้อมูลฯ ออนไลน์ที่สมบูรณ์ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ที่จะสนับสนุนข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อแนวทางการพัฒนาเด็ก ปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม และสามารถเติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพของประเทศ โดยในระยะนี้จะดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัยที่เรียนในระดับอนุบาล 3 จำนวนประมาณ 500 คน ต่างจังหวัดจำนวน 33 จังหวัดใน 4 ภูมิภาค

โครงการ RIECE Panel Data 2019 

พฤษภาคม 2562 - เมษายน 2563

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

ข้อมูลเด็กปฐมวัยแบบตัวอย่างซ้ำไรซ์ไทยแลนด์ (RIECE Panel Data) เป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และมาตรการลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาทุนมนุษย์ในระยะยาวทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศ โดยข้อมูลเด็กปฐมวัยแบบตัวอย่างซ้ำชุดนี้เป็นข้อมูลที่มีความโดดเด่นในแง่ความสมบูรณ์และครอบคลุมทุกมิติของเด็กปฐมวัยรายบุคคล ทั้งที่เกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน การศึกษาและสุขภาพของเด็กปฐมวัย รูปแบบและพฤติกรรมการเลี้ยงดู และรูปแบบและคุณภาพการเรียนการสอนของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย อันเป็นการรวบรวมและศึกษางานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยศึกษาตัวอย่างเด็กปฐมวัยในฐานข้อมูลทั้งหมด 1,397 คน จาก 1,174 ครัวเรือน

รายงานฉบับสมบูรณ์

โครงการ School Readiness for Longitudinal Sample

.

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

การสำรวจข้อมูลตัวอย่างซ้ำไรซ์ไทยแลนด์ (RIECE Thailand Panel Data) จะเก็บข้อมูลแบบตัวอย่างซ้ำในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและกาฬสินธุ์ทุกปี ปีละหนึ่งรอบและวางแผนจะเก็บต่อเนื่องไปทุกปี ปัจจุบันมีเด็กอายุระหว่าง 5 ถึง 8 ปี ในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,100 คน ข้อมูลเด็กปฐมวัยแบบตัวอย่างซ้ำชุดนี้เป็นข้อมูลที่มีความโดดเด่นในแง่ความสมบูรณ์และครอบคลุมทุกมิติของเด็กปฐมวัยรายบุคคล ทั้งที่เกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน การศึกษาและสุขภาพของเด็กปฐมวัย รูปแบบและพฤติกรรมการเลี้ยงดู รวมทั้งรูปแบบและคุณภาพการเรียนการสอนของสถานศึกษา และเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าจึงเสนอให้ดำเนินการสำรวจข้อมูลสถานะความพร้อมของเด็กปฐมวัยในรูปแบบของข้อมูลตัวอย่างซ้ำด้วยการเก็บข้อมูลส่วนสถานะความพร้อมฯ สำหรับกลุ่มตัวอย่างของข้อมูลตัวอย่างซ้ำไรซ์ไทยแลนด์ (School Readiness for Longitudinal Sample)

รายงานสภาวะการศึกษาไทย

พฤษภาคม 2559 – ธันวาคม 2561

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

รายงานสภาวะการศึกษาไทยเป็นรายงานที่ศึกษาวิเคราะห์และนำเสนอสภาวการณ์ทางการศึกษา รวมทั้งบริบททางสังคมและเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อระบบการศึกษาของประเทศไทย ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้จัดทำต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา โดยในปี 2559 ได้จัดทำรายงานสภาวะการศึกษาไทยปี 2558/2559 ในประเด็นหัวข้อ “ความจำเป็นของการแข่งขันและการกระจายอำนาจในระบบการศึกษาไทย” เพื่อพร้อมก้าวเข้าสู่ยุคประเทศไทย 4.0 และเป็นฐานพลังในการพัฒนาประเทศอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน และในปี 2561 ได้จัดทำรายงานสภาวะการศึกษาไทยปี 2560/2561 ในประเด็นหัวข้อ “ฐานข้อมูลกับการบรรลุตามเป้าหมายแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579” เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของฐานข้อมูลและแนวทางการใช้ฐานข้อมูลเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560-2579

สภาวะการศึกษาไทย 2558/2559 

สภาวะการศึกษาไทย 2560/2561   

ชุดโครงการพัฒนาองค์ความรู้เศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนไทย

สิงหาคม 2558 – กรกฎาคม 2562

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

สถานะชุดโครงการในปัจจุบัน

(1) โครงการ “ฐานข้อมูลระดับครัวเรือนแบบตัวอย่างซ้ำเพื่อการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์และสังคม” (ระยะที่ 2) (2) โครงการ “การเปลี่ยนแปลงของความยากจนในชนบทไทย” (3) โครงการ “การจัดทำฐานข้อมูลแบบตัวอย่างซ้ำจากข้อมูลภาวะการทำงานของประชากร” (4) โครงการ “การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตด้านการเกษตรของครัวเรือนในชนบท: บทเรียนจากข้อมูล Townsend Thai Data” (5) โครงการ “บทบาทของสภาพครัวเรือนต่อการพัฒนากำลังแรงงานในอนาคต”

รายงานฉบับสมบูรณ์ ระยะที่ 1    

รายงานฉบับสมบูรณ์ ระยะที่ 2

รายงานฉบับสมบูรณ์ ระยะที่ 3    

โครงการ Thailand School Readiness Survey

สิงหาคม 2560 – มิถุนายน 2565

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) มีภารกิจที่จะต้องส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน อย่างไรก็ตาม เรายังขาดแคลนข้อมูลที่สามารถบ่งบอกได้ถึงความพร้อมเพื่อเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัยซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการวิจัยและการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านจากการศึกษาระดับปฐมวัยเข้าสู่การศึกษาระดับประถมศึกษา (transition to primary school) ทีมนักวิจัยจึงได้พัฒนาเครื่องมือสำรวจความพร้อมเพื่อเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัย (School Readiness Survey) ที่ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ ได้แก่ (1) เด็กปฐมวัย (2) โรงเรียน (3) ผู้ปกครองและชุมชน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และนำเสนอรายงานผลการสำรวจความพร้อมเพื่อเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัย  โดยมีเป้าหมายที่จะขยายผลการสำรวจความพร้อมเพื่อเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็ก ปฐมวัย (School Readiness Survey) ในพื้นที่ 77 จังหวัด และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้อง

รายงานฉบับสมบูรณ์ ระยะที่ 1 

รายงานฉบับสมบูรณ์ ระยะที่ 2  

รายงานฉบับสมบูรณ์ ระยะที่ 3

รายงานฉบับสมบูรณ์ ระยะที่ 4